|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
2
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
54
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
997,404
|
|
|
22 พฤศจิกายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บทความน่ารู้
|
|
อากาศคืออะไร
|
|
อากาศคืออะไร
อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
ส่วนประกอบของอากาศ
ส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และโอโซน อากาศมีอยู่รอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
ไนโตรเจนเป็นก๊าซที่มีมากที่สุด ประมาณ 78% ก๊าซที่มีปริมาณรองลงมาคือ ก๊าซออกซิเจน ประมาณ 21% เป็นก๊าซที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และโอโซนมีปริมาณน้อยมาก
บรรยากาศ คืออะไร
บรรยากาศ (Atmosphere)
คือ มวลก๊าซที่ห่อหุ้มตั้งแต่ผิวโลกจนสูงขึ้นไปประมาณ 900 กิโลเมตร โดยจะเกิดร่วมกับลักษณะทางกายภาพอื่น ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม และอนุภาคฝุ่นผงหรือมลสาร (Pollutant) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำและคงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก บรรยากาศที่สูงขึ้นประมาณ 80 กิโลเมตรจะมีส่วนผสมของก๊าซคล้ายคลึงกัน คนในสถานที่ต่างๆจึงหายใจเอาอากาศเข้าไปโดยไม่รู้สึกผิดปกติแต่อย่างใดบรรยากาศจำแนกตามลักษณะและระดับความสูงได้ 2 ส่วน คือ
บรรยากาศส่วนล่าง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น 100 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศาเซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบนซึ่งอุณหภูมิจะกลับสูงขึ้น จำแนกได้ 3 ชั้น คือ
- โทรโปสเฟียร์ (Troposphere) คือ บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ ลมฟ้าอากาศจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีไอน้ำมากมีลมและฝุ่น
- สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15 - 50 กิโลเมตร มีก๊าซโอโซนรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆ ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจน แตกตัวและจัดรูปแบบขึ้นใหม่ เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ช่วยดูดซับรังสีเหนือม่วงของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น เครื่องบินไอพ่นจะบินในชั้นนี้เนื่องจากมีทัศนวิสัยดี
- มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง -83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน
2. บรรยากาศส่วนบน มีคุณสมบัติต่างจากชั้นล่าง คือ แทนที่อุณหภูมิจะต่ำลงแต่กลับสูงขึ้นและยิ่งสูงยิ่งร้อนมาก
บรรยากาศส่วนนี้จำแนกเป็น 3 ชั้นเช่นกัน คือ
- เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80 - 450 กิโลเมตร ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส สามารถส่งวิทยุคลื่นยาวกว่า 17 เมตรไปได้ทั่วโลก โดยส่งสัญญาณจากพื้นโลกให้คลื่นสะท้อนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน ซึ่งถูกรังสีเหนือม่วงและรังสีเอ็กซ์ทำให้แตกตัว
- เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ 450 - 900 กิโลเมตร มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดันภายในร่างกาย ต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้
- แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า 900 กิโลเมตร ไม่มีก๊าซใดๆอยู่เลย
ความสำคัญของอากาศและบรรยากาศ
อากาศและบรรยากาศมีความสำคัญ ดังนี้
- มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
- มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ
- ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น
- ทำให้เกิดลมและฝน
- มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
- ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก
- ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน
- ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม โดยอนุภาคของสิ่งอื่นที่ปนอยู่กับก๊าซในบรรยากาศจะทำให้แสงหักเห เราจึงมองเห็นท้องฟ้ามีแสงสีที่งดงามแทนที่จะเห็นเป็นสีดำมืด นอกจากนี้ก๊าซโอโซนซึ่งมีสีน้ำเงินยังช่วยให้มองเห็นท้องฟ้าเป็นสีครามหรือสีฟ้าสดใสอีกด้วย
อากาศเป็นพิษ
คือ การที่ส่วนผสมของอากาศเปลี่ยนไปเนื่องจากความผันแปรของธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ไอเสียรถยนต์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากมนุษย์มักเกิดขึ้นเร็วและต่อเนื่องกว่าการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตจึงได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเพราะปรับตัวไม่ทัน อากาศเสียทำให้ไม่น่าอยู่ บั่นทอนสุขภาพและพลานามัย ทำลายทรัพย์สินหรือพืชผล ทำลายระบบนิเวศตลอดจนสามารถทำลายชีวิต เศรษฐกิจและสังคมมนุษย์ได้ในที่สุดปัญหาที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ
- ปัญหาเรื่องสุขภาพของมนุษย์ สารมลพิษทางอากาศที่มนุษย์รับเข้าไปในร่างกาย หากรับไปในปริมาณมากในทันทีทันใดก็จะก่อให้เกิดผลกระทบทันที และหากรับในปริมาณน้อยจะเข้าไปสะสมในร่างกายจนมีปริมาณมากพอที่จะทำให้บุคคลได้รับสารมลพิษแสดงอาการเป็นพิษออกมาในรูปของการเจ็บป่วยรูปแบบต่างๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดศรีษะ
- ปัญหาเรื่องความสกปรก จากการมีฝุ่นละอองและมลสารในอากาศที่เกินจากสภาพธรรมชาติทำให้สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสิ่งก่อสร้างเกิดความสกปรก มีสภาพที่ไม่น่าดู เกิดความไม่สบายตาไม่สบายใจแก่ผู้พบเห็นและผู้อาศัย
- ปัญหาทางเศรษฐกิจ จากความสกปรกทางอากาศไม่ว่าในเรื่องฝุ่นละอองหรือมลสารอื่น ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและทำความสะอาด
- ปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค การที่มลพิษทางอากาศทำให้บ้านเรือนโดยเฉพาะส่วนหลังคาสกปรก เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะล้างลงสู่ภาชนะรองรับ รวมทั้งแหล่งน้ำทำให้ประชาชนที่นำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคไม่ได้ บางครั้งมลพิษทางอากาศทำให้เกิดกรด–ด่างของน้ำเปลี่ยนแปลง
- ปัญหาต่อพืชและผลผลิตทางการเกษตร มลพิษทางอากาศบางชนิดจะทำลายโครงสร้างภายนอกและภายในของใบทำให้ใบมีสีซีด (คลอโรฟีลล์ถูกทำลาย) ทำให้ต้นไม้พืชผักเหี่ยวเฉา สภาพดินที่เป็นกรดทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่เจริญเติบโต
- ปัญหาการเกิดฝนกรด สารมลพิษทางอากาศที่ปล่อยออกมาเมื่อรวมกับน้ำฝนแล้วทำให้น้ำฝน มีความเป็นกรด เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (เกิดกรดไนตริกและกรดกำมะถัน) ฝนกรดจะทำลายสิ่งก่อสร้างให้สึกกร่อน ป่าไม้ถูกทำลาย แหล่งน้ำเมื่อเป็นกรดเพิ่มขึ้นจะทำให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ เกิดผลกระทบต่อเนื่องกับห่วงโซ่อาหาร
- ปัญหาปรากฏการณ์โลกร้อน
- ปัญหาทัศนวิสัย อากาศที่มีฝุ่นละออง ควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์หรือจากกิจกรรมของชุมชน ปล่องควันของโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากการเผาป่า การเดินทางติดต่อสื่อสารหรือการทำงานภายใต้หมอกควันหนาทึบต้องใช้ไฟฟ้าหรือไฟหน้ารถ หรือกรณีของการเกิดไฟไหม้อาคารสถานที่หรือที่พักอาศัย เพลิงจะสงบลงได้ควันไฟได้ฟุ้งกระจาย บรรยากาศในบริเวณดังกล่าวมืดครึ้ม (ที่มา : ราตรี ภารา.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.2543.)
เราจะช่วยลดมลพิษได้อย่างไร
- งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร
- ลดปริมาณมลสารที่ทำให้อากาศเสีย เช่น ฝุ่นละอองและสารพิษ
- ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น ไม่เผาป่า ฟางข้าว หรือขยะมูลฝอยเพื่อลดปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ แก้ไขรถควันดำ เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ลดปริมาณขยะเปียกและการทำให้เกิดการหมักหมมของซากอินทรียวัตถุซึ่งทำให้เกิดก๊าซมีเทน และไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินความจำเป็นเพราะจะทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์
- ลดปริมาณก๊าซที่ทำลายชั้นโอโซน ตามข้อตกลงของประชาคมโลกใน "พิธีสารมอนทรีออล" ซึ่งระบุว่าแต่ละประเทศจะต้องควบคุมการใช้สารที่มีผลทำลายชั้นโอโซน โดยลดการใช้สารซีเอฟซี ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และจะต้องเลิกใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประเทศไทยได้ตอบสนองข้อตกลงนี้เป็นอย่างดี เช่น กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศฉบับที่ 120 กำหนดมิให้ผู้ใดนำตู้เย็นสำเร็จรูปประเภทที่ใช้ในบ้านเรือน โดยใช้สารซีเอฟซีในกระบวนการผลิตเข้ามาในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2542 เป็นต้น ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจึงควรให้ความร่วมมือด้วยการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สารซีเอฟซีทุกชนิด เช่น โฟม กระป๋องสเปรย์ ครีมโกนหนวด ใช้เครื่องปรับอากาศรถยนต์ที่ใช้สาร R134a แทนซีเอฟซีตลอดจนผลิตสารอื่นเพื่อใช้แทนซีเอฟซี
- อนุรักษ์ป่าไม้เพื่อช่วยลดปัญหาอากาศเสียและวาตภัย เพราะต้นไม้จะใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อการสังเคราะห์แสง การมีต้นไม้มากจึงช่วยลดปัญหาภาวะเรือน กระจกที่เกิดจากก๊าซนี้ได้ นอกจากนี้ ต้นไม้ยังช่วยกรองฝุ่นผงและละอองต่างๆ ที่ทำให้อากาศเสีย รวมทั้งช่วยปะทะและลดความรุนแรงของลมพายุอีกด้วย
ตรวจสอบอากาศเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหา การตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อ-เนื่อง เพื่อให้สามารถทราบ และหาทางแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น
ที่มา http://teenet.tei.or.th/kidscorner/kidknow/newknow_air.html#5 |
|
|
|